เมนู

บุคคลผู้ไม่กลับมาสู่มานะด้วยการ
ทราบ อันต่างด้วยอารมณ์ มีรูปที่ได้ทราบ
แล้วเป็นต้น บุคคลนั้นไม่เป็นผู้สำเร็จแล้ว
ด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐินั้น บุคคลนั้น
แม้กรรมและสุตะพึงนำไปไม่ได้ บุคคลนั้น
อันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมนำเข้าไปไม่ได้แล้วใน
นิเวศน์ คือ ตัณหาและทิฏฐิ.
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้แล้ว ความหลงทั้ง
หลายย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วด้วย
ปัญญา ชนเหล่าใดยึดถือกามสัญญาและ
ทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกัน
เที่ยวไปอยู่ในโลก.

จบมาคันทิยสูตรที่ 9

อรรถกถามาคันทิยสูตรที่ 9


มาคันทิยสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวาน ตณฺหํ เพราะเห็นางตัณหา
ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ในเวลา
ใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลกด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของมาคันทิย-

พราหมณ์พร้อมกับภรรยาชาวกัมมาสธัมมนิคม แคว้นกุรุ ทันใดนั้นเองได้
เสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงเปล่งพระรัศมีสีทองประทับนั่ง ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง
ไม่ไกลกัมมาสธัมมนิคม.
ขณะนั้นแม้มาคันทิยพราหมณ์ก็ได้ไป ณ นิคมนั้นเพื่อล้างหน้า เห็น
รัศมีสีทองคิดว่า นี่อะไร มองดูข้างโน้นข้างนี้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดีใจ.
นัยว่า ธิดาของพราหมณ์นั้นก็มีผิวเหมือนทองด้วย. บรรดาขัตติยกุมารเป็นต้น
เป็นอันมากพากันขอนางนั้นก็ไม่ได้. พราหมณ์ตั้งความมุ่งหมายไว้ว่าจักยกธิดา
ให้แก่สมณะผู้มีผิวคล้ายทองเท่านั้น. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเกิด
ความคิดขึ้นว่า สมณะนี้มีผิวเหมือนธิดาของเรา เราจะยกธิดาของเราให้สมณะ
นี้ เพราะฉะนั้น เมื่อพราหมณ์เห็นจึงดีใจ รีบไปเรือนบอกกะนางพราหมณีว่า
แม่มหาจำเริญ แม่มหาจำเริญ ฉันเห็นชายผิวทองเหมือนลูกสาวแล้ว แม่นาง
จงแต่งตัวลูกสาวเถิด เราจะยกให้สมณะนั้น. เมื่อนางพราหมณีเอาน้ำหอมอาบ
ลูกสาวแล้วตกแต่งด้วยผ้าดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้นอยู่นั้นเองจนถึงเวลา
ภิกขาจารของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกัมมาสธัมมนิคม. พราหมณ์และพราหมณีก็พาธิดาไปถึงโอกาสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น นางพราหมณีไม่เห็นพระผู้มีพระภาค-
เจ้า เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้ได้เห็นแต่เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้เป็นที่ประทับทั้งของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โอกาสที่
ประทับนั่งและรอยพระบาทไม่อากูล. นางพราหมณีจึงกล่าวกะพราหมณ์ว่า
พ่อพราหมณ์ นี่เครื่องลาดหญ้าปูไว้สำหรับสมณะนั้นหรือ. พราหมณ์ตอบว่า
ถูกแล้วแม่นาง. นางพราหมณีกล่าวว่า พ่อพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นการมาของเรา

ไม่สำเร็จสมประสงค์เสียแล้ว. พราหมณ์ถามว่า เพราะอะไรเล่า แม่นาง.
นางพราหมณีตอบว่า พ่อพราหมณ์จงดูซิ ปูหญ้ายังเรียบร้อย นี่ไม่ใช่สิ่งที่
ผู้บริโภคกามจะใช้สอย. พราหมณ์กล่าวว่า แม่นางเมื่อเราแสวงหาสิ่งเป็นมงคล
แม่นางอย่าได้พูดถึงสิ่งไม่เป็นมงคลเลย. นางพราหมณีเที่ยวเดินไปข้างโน้น
ข้างนี้อีก เห็นรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวกะพราหมณ์ว่า
พ่อพราหมณ์จงดูรอยเท้านั้นซิ ผู้นี้ไม่ใช่ผู้หมกมุ่นในกามเลย. พราหมณ์ถามว่า
แม่นางรู้ได้อย่างไรกล่าว นางเมื่อจะแสดงความรู้ของตนจึงกล่าวว่า
เป็นความจริงเท้าของคนกำหนัดเป็น
เท้ากระโหย่ง เท้าของคนโทสะ เป็นเท้าขย่ม
เท้าของคนโมหะลงส้น เท้าเช่นนี้เป็นเท้า
ของผู้มีกิเลสเพียงดังหลังคาเปิดแล้ว.

กถานี้ยังไม่ชัดเจนแก่พราหมณ์และนางพราหมณีนั้น. ครั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ได้เสด็จมายังไพรสณฑ์นั้น. นาง
พราหมณีเห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้างดงามด้วยพระลักษณะอันเลิศ
แวดวงด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง จึงกล่าวกะพราหมณ์ว่า พ่อพราหมณ์ เห็นสมณะ
นั้นหรือยัง. พราหมณ์ตอบว่า เห็นแล้วแม่นาง. นางพราหมณีกล่าวว่า สมณะนี้
จักไม่บริโภคกามเป็นแน่ เรามาเสียเวลาเสียแล้ว ผู้มีลักษณะอย่างนี้จักบริโภค
กามข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. เมื่อพราหมณ์และนางพราหมณีสนทนากันอยู่
อย่างนี้นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนเครื่องลาดที่เป็นหญ้า.
ลำดับนั้น พราหมณ์จูงธิดามาด้วยมือซ้าย ถือคนโทน้ำด้วยมือขวา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า บรรพชิตผู้เจริญ ท่านก็มีผิวคล้ายทอง

ทาริกานี้ก็มีผิวทอง ทาริกานี้จึงสมควรแก่ท่าน ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ
ยกพาริกานี้ให้เป็นภรรยา เพื่อจะได้เลี้ยงดูกัน แล้วเดินตรงไปหาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประสงค์จะยกธิดาให้ ได้ยืนอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทำเป็นดุจมิได้
สนทนากะพราหมณ์ แต่สนทนากับคนอื่นได้ตรัสคาถานี้ว่า ทิสฺวาน ตณฺหํ
เพราะเห็นนางตัณหา ดังนี้เป็นต้น.
บทนี้มีความดังต่อไปนี้ แม้เพียงความพอใจในเมถุนมิได้มีแก่เรา
เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาผู้เป็นธิดาพญามารซึ่งเนรมิตรูป
ต่าง ๆ มาสู่ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธ ความพอใจ
อะไรจักมี เพราะเห็นรูปอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสของหญิงสาวนี้ เราไม่
ปรารถนาจะถูกต้องสรีระเเห่งธิดาของท่านนั้นโดยประการทั้งปวง แม้เพราะเท้า
อย่าว่าแต่จะอยู่ร่วมกันเลย.
ลำดับนั้น มาคันทิยพราหมณ์ เพื่อจะทูลถามว่า ธรรมดาบรรพชิต
ละกามอันเป็นของมนุษย์แล้วบวชเพื่อกามอันเป็นของทิพย์ แต่สมณะนี้ไม่
ปรารถนากามแม้เป็นของทิพย์ แม้อิตถีรัตนะนี้ก็ไม่ปรารถนา อะไรหนอเป็น
ทิฏฐิของสมณะนี้ จึงกล่าวคาถาที่สอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิสํ เจ รตนํ นางแก้วเช่นนี้ มาคัน-
ทิยพราพมณ์กล่าวหมายถึง นางแก้วอันเป็นทิพย์. บทว่า นารึ มาคันทิยพราหมณ์
กล่าวหมายถึงธิดาของตน. การเห็นนั่นแหละคือทิฏฐิคตะ. บทว่า สีลวตํ นุ
ชีวิตํ
ได้แก่ ทิฏฐิ ศีล พรต และชีวิต. บท่วา ภวูปปตฺติญฺจ วเทสิ
กีทิสํ
คือ พระองค์ตรัสการเข้าถึงภพของพระองค์เช่นไร. สองคาถานอกจาก
นี้มีความเชื่อมกันชัดแล้ว เพราะเป็นไปโดยนัยการตอบและการถาม.

ในคาถาเหล่านั้น พึงทราบความสังเขปในคาถาต้นต่อไป. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคันทิยะ กิจที่เราวินิจฉัยในธรรมคือทิฏฐิ 62
แล้วจึงยึดถือเอาว่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เท่านั้นจริง ข้ออื่นเป็นโมฆะดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เรา. เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นโทษในทิฏฐิทั้งหลายอยู่ไม่
ยึดถือทิฏฐิไร ๆ เมื่อค้นคว้าสัจจะทั้งหลายก็ได้เห็นนิพพานอันเป็นความสงบ
ภายใน เพราะราคะเป็นต้นในภายในสงบ.
ในคาถาที่สองท่านกล่าวความสังเขปไว้ว่า ทิฏฐิเหล่าใดที่สัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้นได้วินิจฉัยเพราะวินิจฉัยยึดถือเอาแล้วและกำหนดไว้แล้วโดยนัยมีความ
ที่อันปัจจัยของตนปรุงแต่งแล้วเป็นต้น. มาคันทิยพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่พระมุนี
พระองค์มิได้ทรงยึดถือทิฏฐิเหล่านั้นเลย ตรัสเนื้อความนี้ใดว่า ความสงบ ณ
ภายใน เนื้อความนั้นอันนักปราชญ์ทั้งหลายประกาศไว้อย่างไรหนอ ขอพระองค์
จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายที่นักปราชญ์
ทั้งหลายประกาศบทนั้นอันตรงกันข้ามแก่มาคันทิยพราหมณ์นั้นจึงตรัสคาถาว่า
น ทิฏฺฐิยา เป็นต้น.
ในคาถานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธศีลและพรตนอกเหนือไปจาก
สมาบัติ 8 และญาณ ด้วยบทมีอาทิว่า น ทิฏฺฐิยา ไม่ได้กล่าวความบริสุทธิ์
ด้วยการเห็น ดังนี้. ท่านประกอบ อาห ศัพท์ที่กล่าวไว้ในบทนี้ว่า สุทฺธิมาห
เข้ากับ อักษรในทุกบทแล้วพึงทราบความอย่างนี้ว่า เราไม่กล่าวความ
บริสุทธิ์ด้วยความเห็นดังนี้. แม้ในบทนอกนั้นก็ยังเดียวกับในบทนี้. ในบท

เหล่านั้น บทว่า อทิฏฺฐิยา นาห พึงทราบความอย่างนี้ เราไม่กล่าวความ
บริสุทธิ์เว้นสัมมาทิฏฐิ มีวัตถุ 10 อนึ่ง จากการไม่ฟัง คือ เว้นการฟังมีองค์ 9
เว้นจากการไม่รู้ คือ เว้นกัมมัสสกตาญาณ (ความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน)
และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดอริยสัจ) เว้น
จากศีล คือ เว้นการสำรวมในปาติโมกข์ เว้นจากพรต คือ เว้นธุดงควัตร.
บทว่า โนปิ เตน คือเราไม่กล่าวแม้เพียงความเห็นเป็นต้นอย่างหนึ่ง ๆ ใน
ความบริสุทธิ์เหล่านั้น. บทว่า เอเต จ นิสชฺช อนุคฺคหาย ก็บุคคล
สละธรรมเหล่านี้แล้วไม่ถือมั่น ความว่า สละธรรมอันเป็นฝ่ายดำมีการเห็น
เป็นต้นอันมีในก่อนเหล่านี้ด้วยการถอนเสียแล้ว ไม่ถือมั่นธรรมอันเป็นฝ่ายขาว
มีการเห็นเป็นต้นอันมีในภายหลังด้วยการกวาดล้างธรรมที่อาศัยเสีย. บทว่า
สนฺโต อนิสฺสาย ภวํ น ชปฺเป เป็นผู้สงบไม่อาศัยธรรมอะไรแล้ว
ไม่พึงปรารถนาภพ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบกิเลสด้วยการปฏิบัตินี้
ไม่อาศัยธรรมไร ๆ ในจักขุทวารเป็นต้นไม่พึงปรารถนาภพแม้ภพเดียว พึงเป็น
ผู้สามารถเพื่อความไม่ยาก เพื่อความไม่ปรารถนา อธิบายว่า นี้เป็นความสงบ
ณ ภายในของผู้นั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาคันทิยพราหมณ์ไม่เข้าใจ
ข้อความ จึงกล่าวคาถาว่า โน เจ กิร ได้ยินว่าถ้าพระองค์ไม่ตรัสความ-
บริสุทธิ์ด้วยการเห็นดังนี้เป็นต้น.
ในคาถานั้น การเห็นเป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้ว มาคันทิยพราหมณ์
กล่าวแม้ในทั้งสองแห่งหมายถึงธรรมอันเป็นฝ่ายดำนั่นเอง. ท่านประกอบ อาห

ศัพท์เข้ากับ โนเจกิร ศัพท์เป็น โน เจ กิร อาห แล้วพึงเห็นความ
อย่างนี้ โน เจ กิร กเถสิ ได้ยินว่าถ้าพระองค์ไม่ตรัส ดังนี้. บทว่า
โมมุหํ คือ ลุ่มหลงหรืองมงาย. บทว่า ปจฺเจนฺติ คือ รู้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงปฎิเสธคำถามอาศัยการเห็นนั้นของ
มาคันทิยพราหมณ์จึงตรัสคาถาว่า ทิฏฺฐิญฺจ นิสฺสาย ก็ท่านอาศัยการเห็น
กามอยู่บ่อย ๆ ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาคัน-
ทิยพราหมณ์ท่านอาศัยการเห็นกามอยู่บ่อย ๆ ได้ถึงความหลงใหลไปในทิฏฐิที่
ท่านยึดมั่นแล้ว และท่านก็มิได้เห็นสัญญาแม้แต่น้อยจากความสงบภายในที่เรา
กล่าวแล้ว หรือจากการปฏิบัติ หรือจากการแสดงธรรมด้วยเหตุนั้นท่านจึง
เห็นธรรมนี้โดยความเป็นผู้งมงาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความโต้แย้งของมาคันทิย-
พราหมณ์ผู้งมงายอยู่ในการเห็นที่ตนยึดมั่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดง
ถึงความไม่โต้แย้งของพระองค์ผู้ปราศจากความงมงายในธรรมเหล่านั้นและใน
ธรรมอื่นจึงตรัสคาถาว่า สโม วิเสสี เราเป็นผู้เสมอเขา วิเศษกว่าเขา ดังนี้
เป็นต้น.
บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ผู้ใดย่อมสำคัญด้วยมานะ 3 อย่าง หรือ
ด้วยทิฏฐิอย่างนี้ ผู้นั้นพึงวิวาทด้วยมานะนั้น ด้วยทิฏฐินั้นหรือด้วยบุคคลนั้น
แต่ผู้ใดไม่หวั่นไหวใน 3 อย่างนี้ว่าเราเสมอเขา วิเศษกว่าเขาเป็นต้นเช่นกับเรา
ผู้นั้นย่อมไม่มีการวิวาท. พึงทราบปาฐะที่เหลือว่า น จ หีโน มีอะไรอีก. มี
คาถาว่า สจฺจนฺติ โน.

บทนั้นมีอธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้นั้น เป็นผู้ละมานะทิฏฐิได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ นัยว่า เพราะเป็นผู้ลอยบาปได้แล้วเป็นต้น จะพึงกล่าวอะไร
กล่าวเพื่ออะไร หรือกล่าวด้วยเหตุอะไรว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง หรือจะพึงวิวาท
เพราะมานะหรือทิฏฐิอะไรว่า ของเราจริง ของท่านเท็จ อนึ่งความสำคัญว่า
เสมอเขาโดยเป็นไปว่า เราเป็นเช่นกับเขา หรือไม่เสมอเขาโดยเป็นไปด้วย
ภาวะทั้งสองอย่างพวกนี้ ย่อมไม่มีในผู้ใด ผู้เป็นขีณาสพเช่นเรา ผู้นั้นจะพึง
โต้ตอบโต้เถียงวาทะกับใครในความเสมอกันเป็นต้น. พึงทราบคาถาต่อไปว่า
บุคคลเห็นปานนี้ละอาลัยได้แล้วโดยส่วนเดียวมิใช่หรือ.
ในบทเหล่านั้นบทว่า โอกํ ปหาย ละอาลัยได้แล้วคือละทิ้งโอกาสแห่ง
วิญญาณอาศัยรูปและวัตถุเป็นต้นด้วยการละความกำหนัดเพราะความพอใจใน
สิ่งนั้น. บทว่า อนิเกตสารี ไม่ระลึกถึงอารมณ์เครื่องกำหนดหมาย คือไม่ระลึก
ถึงรูปนิมิตอันเป็นเครื่องกำหนดหมายเหล่านั้นด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า คาเม
อกุพฺพํ มุนิ สนฺถวานิ
มุนีไม่ทำความสนิทสนมในชาวบ้าน คือไม่ทำ
ความสนิทสนมกับคฤหัสห์ในบ้าน. บทว่า กาเมหิ ริตฺโต เป็นผู้สงัดจากกาม
ทั้งหลายคือเป็นผู้ว่างจากกามทั้งปวงเพราะไม่มีความกำหนัดเพราะความพอใจ
ในกามทั้งหลาย. บทว่า อปุเรกฺขราโน คือไม่ทำอัตภาพให้เกิดอีกต่อไป.
บทว่า กถํ น วิคฺคยฺห ชเนน กยิรา คือไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกับชน.
พึงทราบคาถาต่อไปว่า บุคคลเห็นปานนั้นเป็นผู้สงัดจากทิฏฐิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เยหิ คือจากทิฏฐิเป็นต้น. บทว่า วิวิตฺโต
วิจเรยฺย
คือเป็นผู้สงัดแล้วพึงเที่ยวไป. บทว่า น ตานิ อุคฺคยฺห วเทยฺย

นาโค บุคคลผู้ประเสริฐไม่พึงถือเอาธรรมเหล่านั้นขึ้นกล่าว คือบุคคลผู้ประ-
เสริฐได้แก่ผู้ไม่ทำบาปไม่พึงถือเอาทิฏฐิเหล่านั้นขึ้นกล่าว. บทว่า เอลมฺพุชํ
เหมือนดอกปทุม ท่านอธิบายว่าดอกปทุมมีก้านเป็นหนามเกิดในน้ำโคลนตม.
บทว่า ยถา ชเลน ปงฺเกน จ นูปลิตฺตํ ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม
คือเหมือนดอกปทุมนั้นไม่ติดอยู่ด้วยน้ำและโคลนตม. บทว่า เอวํ มุนิ สนฺ-
ติวาโท อคิทฺโธ
มุนีผู้มีถ้อยคำสงบ ไม่กำหนัดยินดี คือมุนีผู้มีถ้อยคำใน
ภายในไม่กำหนัดยินดี เพราะไม่มีความอยาก. บทว่า กาเม จ โลเก จ
อนูปลิตฺโต
ไม่ติดอยู่ในกามและในโลก คือไม่ติดอยู่ในกาม 2 อย่างและใน
โลกมีอบายเป็นต้นด้วยกามแม้ 2 อย่าง. มีอะไรต่อไป. มีคาถาว่า น เวทคู
เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า น เวทคู ทิฏฺฐิยา บุคคลผู้ถึงเวทเป็นผู้ไม่
ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ ความว่า บุคคลผู้ถึงเวทคือมรรค 4 เช่นเราไม่เป็นผู้ไป
ด้วยทิฏฐิคือเป็นผู้ไม่ดำเนินไปด้วยทิฏฐิ หรือเป็นผู้ไม่กลับไปสู่ทิฏฐินั้น ๆ
โดยความเป็นสาระ. ชื่อว่า ทิฏฺฐิยายโก เพราะเป็นผู้ไปด้วยทิฏฐิ หรือ
เพราะเป็นผู้ไปสู่ทิฏฐิ. บทว่า น มุติยาสมานเมติ บุคคลนั้นไม่กลับมา
สู่มานะด้วยการรู้คือ บุคคลนั้นไม่มาสู่มานะแม้ด้วยการรู้มีรู้รูปเป็นต้น. บทว่า
น หิ ตมฺมโย โส บุคคลนั้นใช่เป็นผู้สำเร็จด้วยตัณหาเเละทิฏฐินั้น คือบุคคล
นั้นใช่เป็นผู้เช่นกับผู้สำเร็จด้วยตัณหาและทิฏฐินั้น. บทว่า น กมฺมุนา โนปิ
สุเตน เนยฺโย
บุคคลนั้นแม้กรรมและสุตะพึงนำไปไม่ได้ คือ บุคคลนั้นอัน
กรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น หรือสุตะมีสุตะอันบริสุทธิ์เป็นต้นพึงนำไปไม่ได้.
บทว่า อนูปนีโต โส นิเวสเนสุ บุคคลนั้นอันสิ่งใดสิ่งหนึ่งน้อมเข้าไปไม่ได้

แล้วในนิเวศน์คือตัณหาและทิฏฐิทั้งปวง เพราะละการเข้าไปใกล้แม้ธรรมสอง
อย่างได้แล้ว. พึงทราบคาถาว่า สญฺญาวิรตฺตสฺส ต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญาวิรตฺตสฺส แก่บุคคลผู้คลายสัญญาได้
แล้ว คือ สัญญามีกามสัญญาเป็นต้น จะได้แล้วด้วยภาวนาอันมีเนกขัมสัญญา
เป็นหัวหน้า. ด้วยบทนี้ท่านประสงค์เอาสมถยานิก (มีสมถะเป็นยาน) อันเป็น
อุภโตภาควิมุต (พ้นแล้วทั้งสองฝ่าย). บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตสฺส แก่บุคคลผู้
หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา คือหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวงด้วยภาวนาอันมี
วิปัสสนาเป็นหัวหน้า ด้วยบทนี้ท่านประสงค์เอาพระสุกขวิปัสสก. บทว่า
สญฺญญฺจ ทิฏฺฐิญฺจ เย อคฺคเหสุํ เต ฆฏฺฏมานา วิจรนฺติ โลเก ชน
เหล่าใดถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกันเที่ยวไปใน
โลกความว่า ชนเหล่าใดถือสัญญามีกามสัญญาเป็นต้นโดยเฉพาะ ชนเหล่านั้น
เป็นคฤหัสถ์กระทบกระทั่งกันมีกามเป็นเหตุเที่ยวไป อนึ่งชนเหล่าใดถือทิฏฐิ
โดยเฉพาะ ชนเหล่านั้นเป็นบรรพชิต ชนเหล่านั้นกระทบกระทั่งกันและกันมี
ธรรมเป็นเหตุเที่ยวไป. บทที่เหลือในสูตรนี้บทใดยังมิได้กล่าวไว้ บทนั้นพึง
ทราบโดยทำนองเดียวกันกับที่ท่านไว้แล้วนั่นแล.
เมื่อจบเทศนา พราหมณ์และนางพราหมณีออกบวชแล้ว ได้บรรลุ
พระอรหัต.
จบอรรถกถามาคันทิยสูตรที่ 9 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

ปุราเภทสูตรที่ 10


ว่าด้วยบุคคลผู้สงบ


พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
[417] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร
มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่าเป็นผู้สงบ
ท่านพระโคดม พระองค์ผู้อันข้าพระองค์
ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนระผู้สูงสุดแก่
ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระ
แตก เป็นผู้ไม่อาศัย กาลเบื้องต้น (อดีต)
และเบื้องปลาย (อนาคต) อันใคร ๆ จะพึง
นับว่า เป็นผู้ยินดีแล้ว ในกาลท่ามกลาง
(ปัจจุบัน) ไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อม
ไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้สงบ.
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด
ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้
นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้วด้วยวาจา.
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่
มาถึง ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็น